http://tattep.blogspot.com/นาฏศิลป์ตะวันตก

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นาฏศิลป์ตะวันตก หรือ นาฏศิลป์สากล

ศิลปะการแสดงประเภทการเต้นของตะวันตก


แหล่งข้อมูล : http://drama-study.blogspot.com/


             เป็นศิลปะการเต้นรำแขนงหนึ่ง ที่มีประวติความเป็นมายาวนานนับศตวรรษ โดยมีจุดกำเนิดครั้งแรก ณ ประเทศ อิตาลี ในยุคสมัยที่เรียกว่า เรเณซอง หรือ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ในยุคแรกเริ่ม ถือว่าเป็นกิจกรรมทางสังคม ของราชสนักอิตาลี ที่ถือกำเนิดขึ้น และมักนิยมจัดการแสดงโดยเหล่าขุนนางชายเป็นส่วนใหญ่ โดยสาเหตุหนึ่งเกิดขึ้นจากความแต่งต่างของเครื่องแต่งกาย ที่เหล่าขุนนางชายสวมใส่ ชุดที่มีความกระชับและง่ายต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย มากกว่าเหล่าขุนนางฝ่ายหญิง ที่สวมกระโปรงสุ่มขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงกว่างได้ว่าศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ บุตรตรีแห่งตระกูลเม ดิซีในประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นตระกูลหนึ่งที่มีความสำคัญในการปกครองประเทศอิตาลีในขณะนั้น ในเวลาต่อมาพระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชี ได้นำศิบปะการเต้นบัลเล่ต์ เข้าไปเผยแพร่สู่ราชสำนักฝรั่งเศส ภายหลังการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส



             บัลเล่ต์ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายเรื่อยมา ในประเทศฝรั่งเศสจนถึงยุคพระเจ้าหลุยที่  14 แห่งฝรั่งเศส พระองค์ทรงสนับสนุนศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ จนเกิดความรุ่งเรืองสูงสุด มีการเปิดโรงเรียนสอนเต้นบัลเล่ต์ แห่งแรกของโลก โดยมีชื่อว่า Academie Royale De La Dance หรือ สถาบันปารีส โอเปร่า ในปัจจุบันนี้เอง


            ต่อมาศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ก็ได้เคลื่อนย้ายความนิยมเข้าสู่ประเทศรัสเซีย มีการเปิดโรงเรียนสอนเต้นบัลเล่ต์ แห่งแรกขึ้นภายใต้การสนับสนุนของจักรพรรดิ ดีบี แอนนา อีวา  น็อพน่า ในชื่อ อิมพีเรียว บัลเล่ต์ สคูล บัลเล่ต์ ในประเทศรัสเซียจึงเกิดความเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา ซึ่งคณะบัลเล่ต์ หนึ่งที่มีอิทธิ์พลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมศิลปะ ในยุโรป และทั่วโลก ที่หันมาให้ความสนใจและนิยมจัดการเรียน การสอนบัลเล่ต์ ไปทั่วโลก เกิดขึ้นจากผลงานของคณะบบัลเล่ตื รูส ภายใต้การนำของ เสริฟ ดี เอ กีเลฟ ภายหลังการแพร่ขยายของศิลปะการแสดงการเต้น บัลเล่ตื ในประเทศอิตาลี ย้ายเข้าไปในฝรั่งเศสและขยายต่อไปยังประเทสรัสเซีย ก่อนที่ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ จะกลายเป็นศิลปะที่แพร่ขยายและได้รับความนิยมไปยังทั่วทุกส่วนต่างๆ ของโลกเรื่อยมาจนปัจจุบัน


ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์ตะวันตกผสมผสานกับดนตรี


                                 
แหล่งที่มาของวีดีโอ www.youtube.com/watch?v=7rMxbZP6SyU





ประวัติและวิวัฒนาการของบัลเล่ต์ (Ballet)


จากศึกษาพบว่าคำว่า Ballet มีรากฐานมาจากภาษาอิตาเสียน คือ
 

  BALLARE = to dance
  BALLO       = a dance
  BALLETO = a little dance
 
        แต่คำว่า Ballet ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นคำภาษาฝรั่งเสส สื่บเนื่องมาจากการพัฒนาการทางประวัติศาสตรื ที่เริ่มมีขึ้นในราชสำนักอิตาลี แต่มาเจริญเติบโตในประเทศฝรั่งเศษ ระหว่างศริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ได้เกิดมีการแสดงบันเทิงที่แพร่หลายในราชสำนักดังนี้
       1. Interudes เป็นการแสดงชุดสั้นๆ ซึ่งประกอบไปด้วยนักร้องและนักเต้น คั่นระหว่างการเสิร์ฟอาหาร
       2. Masquerades เป็นขบวนการแห่ของนักแสดงที่จะหยุดต่อหน้าแขกผู้มีเกียรติ และนักแสดง จะอ่านโคลงกลอนหรือเล่าเรื่อง โดยสวมหน้ากากด้วย
       3. Mummers เป็นการแสดงซึ่งนักเต้นจะสวมหน้ากาก
     
               บัลเล่ต์ ถือได้ว่าเป็นศิลปอย่างชัดเจนในระหว่างศริสต์ศตวรรษที่ 18 วิธีการเป็นแบบฉบับมากขึ้นและยากขึ้น เช่น Mrie Carmago และ Marie Salle ได้ปฏิวัติเครื่องแต่งกายหญิงให้สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระมากขึ้น ขณะเดียวกันกับที่ Jean Noverre,Franz Hilferding พยายามพัฒนาบัลเล่ต์ ไปสู่ความมีแบบฉบับที่ชัดเจนที่เรียกว่า Ballet d' action




        ประวัติความเป็นมาของบัลเล่ต์ในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ตามวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาและการแสดง คือ
ยุคที่ 1 ยุคริเริ่ม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2494) เริ่มมีการเรียนบัลเลต์ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ใน พ.ศ. 2477 ตรงกับสมัยรัชการที่ 7 เป็นการสอนแบบอิสระโดยให้นักเรียนเต้นตาม การแสดงจะเป็นการเต้นประกอบเพลงในละครเพื่อคั่นสลับฉาก รูปแบบการนำเสนอของบัลเล่ต์เข้ามามีบทบาท กับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยโดยเฉพาะในละครดึกดำบรรพ์
ยุคที่ 2 ยุคพัฒนาบัลเล่ต์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2509) บัลเล่ต์เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น เนื่องจากมีครูบัลเล่ต์อาชีพจากต่างประเทศจำนวน 4 คนเปิดสอนบัลเล่ต์ในกรุงเทพฯ การสอนยังเป็นแบบอิสระและมักเป็นการซ้อมเพื่อแสดง มีคนไทยจำนวน 4 คนจบการศึกษาบัลเล่ต์ขั้นสูงจากประเทศอังกฤษ บัลเล่ต์เริ่มขยายไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิกและการผสมระหว่างนาฏยศิลป์ไทยกับบัลเล่ต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์บทเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงบัลเล่ต์หลายชุด และทรงให้การสนับสนุนการแสดงบัลเล่ต์ จึงทำให้บัลเล่ต์เป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น
และยุคที่ 3 ยุคมาตรฐานบัลเล่ต์คลาสสิก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2541) การเต้นบัลเล่ต์ได้พัฒนาจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของหลักสูตรการศึกษาของไทยในระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา และได้มีการแพร่ขยายไปในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ การสอนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการใช้หลักสูตรสากลของประเทศอังกฤษ เป็นการวัดมาตรฐานบัลเล่ต์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิก โดยมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงงานโรงเรียนและการแสดงในเชิงพาณิชย์ ในประเทศไทยยังไม่มีคณะบัลเล่ต์อาชีพ และผู้สนับสนุนบัลเล่ต์อย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งควรมีการแต่งตำราเกี่ยวกับบัลเล่ต์เป็นภาษาไทย เพื่อให้นักเต้นได้รู้และเข้าใจการเต้นบัลเล่ต์ดียิ่งขึ้น และงานวิจัยฉบับนี้ควรนำไปสู่การวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาบัลเล่ต์ในประเทศไทยต่อไป...




แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=4gjX8ekTABE



 ลักษณะเครื่องแต่งกายในการเรียนบัลเลต์ โดยมีส่วนประกอบสำคัญทัง 3 ส่วน ประกอบด้วยกัน



1. เสื้อรัดรูป ที่เรียกว่า ลี-โอะทาด (Leotard) เป็นเสื้อที่มีลักษณะรัดรูป แขนกุด แขนสั่น แขนยาว สายเดี่ยว หรือลักษณะคล้ายเสื้อกล้ามเพื่อเน้นให้เห็นสัดส่วนของร่างกาย โดยครูผู้สอนสามารถมองเห็นกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของลำตัวได้อย่างชัดเจน เพื่อจะนำไปสู่การชี้แนะ แก้ไข การจัดระเบียบร่างกายที่ถูกต้องต่อไป โดยทั่วไปเสื้อรัดรูปที่ดีควรดูดซับเหงื่อได้ดี และระบายความร้อนได้ดีในเวลาเดียวกัน


2. การเกงรัดรูปหรือถุงน่อง ที่เรียกว่า ไทป์ (Tight) เป็นกางเกงรัดรูปหรือถุงน่องชนิดยาวคลุมเท้าหรือยาวปิดเท้า ซึ่งโดยปปกตินักเรียนบัลเล่ต์ชาย จะนิยมสวมใส่ไทป์สีดำหรือสีขาว ในขณะที่นักเรียนบัลเล่ต์หญิงจะสวมใส่ไทปืสีชมพู กางเกงรัดรูปหรือถุงน่องก็เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับนักเรียนบัลเล่ตือีกลักษณะหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องรัดรูป เพื่อเน้นให้ครูผู้สอนสามารถมองเห็นกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจนและพร้อมจะทำการแก้ไขต่อไป ส่วนความหมายสำคัญเชิงศิลปะการแสดงการเต้นบัลเล่ต์ การใส่ชุดรัดรูปจะช่วยให้ผู้ชมสามารถชื่นชมความงดงามของร่างกาย จากลวดลายการเคลื่อนไหว ศรีษะ แขน ขา และลำตัวได้อย่างอย่างชัดเจน ประกอบอารมณืในการแสดง
 



3.รองเท้ารัดรุปชนิดผ้านิ่ม ที่เรียกว่า ซอฟย์ ชู (Soft shoe) เป็นรองเท้ารัดรูปที่ใช้วัสดุในการผลิตจากผ้าซาติน หรือหนังเทียม โดยปกตินักเรียนบัลเล่ต์ชายจะใช้รองเท้ารัดรูปสีขาวหรือสีดำ ในขณะที่นักเรียนบัลเล่ต์หญิงจะใช้รองเท้ารัดรุปสีชมพู เพื่อให้สีของรองเท้ากลมกลือนไปกับสีของถุงน่อง



ลักษณะของบัลเล่ต์


   บัลเล่ท์มีลักษณะคล้ายโอเปรา คือ เป็นการแสดงบนเวทีโดยมีตัวละคร ซึ่งใช้ในการเต้นเป็น

หลักไม่มีบทเจรจาใดๆ มีการแต่งตัว มีการจัดฉาก และที่สำคัญคือ การใช้ดนตรีบรรเลงประกอบ ในลักษณะเดียวกับโอเปรา และใช้วงออร์เคสตราบรรเลงการแสดงบัลเล่ท์มีการแบ่งเป็นองค์เป็นฉากและมีเพลงนำเช่นเดียวกับ โอเปรา กล่าวคือ การใช้แนวทำนองแทนตัวละครหรือเหตุการณ์ต่างๆ เหตุที ตัวละครในบัลเล่ท์ไม่มีการร้องหรือเจรจาเป็นภาษาพูดในลักษณะของโอเปรา ดนตรีจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากการสื่อภาษาต่างๆใช้ดนตรีถ่ายทอดโดยตลอดร่วมกับการเคลื่อนไหวในลักษณะของการเต้น ซึ่งเปรียบได้กับบทละคร ของโอเปราลักษณะพิเศษของบัลเล่ท์ คือ การใช้ปลายเท้าเต้น เคลื่อนไหวโดยการใส่ร้องเท้าบัลเล่ท์ที่หนุนให้เท้าสามารถเขย่งได้อย่างมั่นคง ผู้คิดท่าเต้นจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีความสำคัญมากดังนั้นถ้าผู้ชมต้องการติดตามเรื่องราวให้เข้าใจโดยตลอดอย่างแจ้มแจ้งจึงควรอ่านเนื้อเรื่องมาก่อนจะทำให้ติดตามชมได้อย่างเป็นเรื่องราวและไม่น่าเบื่อ การชมบัลเล่ท์แต่ละครั้งผู้ชมควรอ่านสูจิบัตรก่อน เพราะในสูจิบัตรมีรายละเอียดเรื่องราวของบัลเล่ท์กล่าวไว้เสมอ  

สุนทรีย์ของบัลเล่ท์      สุนทรีย์ของบัลเล่ท์อยู่ที่ความประสานคล้องจ้องของเสียงดนตรีจากวงออร์เคสตรา และการเต้นบัลเล่ท์ของผู้แสดง ที่ร่วมกันสร้างความรู้สึกให้กับผู้ชมไดสัมผัสเสียงและการแสดง เพื่อสื่อ อารมณ์ต่างๆให้เป็นไปตามเรื่องราวที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ ความสุข ความดีใจ ความเสียใจ ความร่าเริง แจ่มใส ความหดหู่ เศร้าเสียใจ ความอาทร เป็นต้น เสียงดนตรีที่สื่อความรู้สึกต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดเป็นท่าเต้น โดยผู้คิดสร้างสรรค์ท่าเต้น และผู้เต้นซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการใช้ความสามารถของตนในการเคลื่อนไหวตามที่กำหนดไว้ เพื่อสื่อความรู้สึกแฝงไว้ในท่วงทำนองของบทเพลงให้ผู้ชมได้ทัศนาถึงความงามของท่วงท่าทางจักษุสัมผัส ร่วมไปกับความงดงามของเสียงดนตรีจากโสตสัมผัส ทั้งผู้เต้นที่เป็นตัวแสดงนำและผุ้แสดงสนับสนุนผนวกกับเครื่องแต่งกายฉาก แสงสีอันงดงามตระการตา ทำให้ผู้ชมเกิดสุนทรีย์ในความรู้สึกของตนเองอย่างเต็มเปี่ยมดนตรีบัลเล่ห์มักมีหลากหลายอารมณ์ เพื่อมุ่งบรรยายเรื่องราวที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้ท่าเต้นที่ผู้คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นให้เข้ากับท่วงทำนองดนตรี ได้รับการถ่ายทอดเป็นท่าทางอันสมบูรณ์ แบบด้วยผู้แสดงนำหญิง เป็นความงามของบัลเล่ท์อย่างแท้จริงที่ผุ้ชมบัลเล่ท์เฝ้ารอคอยที่จะชื่นชม      นอกจากนั้นผู้แสดงนำชายที่มีท่วงท่าสง่างามโลดโผน และผู้ที่แสดงประกอบจำนวนมากที่เคลื่อนไหวอย่างพร้อมเพรียงกัน ล้วนเป็นเสน่ห์ของบัลเล่ห์ทั้งสิ้นโดยหลักการของสุนทรียศาสตร์ การรับรู้เรื่องของความงามจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้รับรู้ต้องได้ฟัง หรือได้ทัศนาความงามของโสตศิลป์และทัศนศิลป์ บัลเล่ท์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่นำเสนอทั้งความงามทางด้านโสตศิลป์และทัศนศิลป์แก่ผู้ชมในขณะเดียวกัน ความลงตัวของเสียงดนตรีและศิลปะการแสดงทำให้ผู้ชมเห็นคุณค่าและชื่นชมในสุนทรีย์ของบัลเล่ท์ความเข้าใจในดนตรี เรื่องราวของการแสดงบัลเล่ท์และท่าเต้น เป็นความสำคัญเช่นกันที่ผู้ชมควรศึกษา เพื่อช่วยให้รับรู้ความงามของบัลเล่ท์ได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับด้านการฟังดนตรีบัลเล่ท์จากเครื่องเสียง โดยมิได้ชมการแสดง ผุ้ฟังสามารถรับรู้ความงามในสุนทรียรสของดนตรีที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตรา ในเชิงดนตรีบริสุทธิ์ โดยผู้ฟังคิดจินตนาการถึงเรื่องราวในความรู้สึกของตนเองได้เช่นเดียวกับการฟังดนตรีประเภทดนตรีบรรยายเรื่องราว






ศตวรรษ 17 รากฐานบัลเลต์

    เวลาผ่านไปถึง 2 ศตวรรษ จึงเกิดการปฏิวัติในบัลเลต์ขึ้นที่ฝรั่งเศส อย่างที่เรียกว่าเปลี่ยนรูปแบบไปจากจุดเริ่มต้น อาจเนื่องเพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในศิลปะการแสดง รวมทั้งต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้น ในปี 1661 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดฯ ให้ก่อตั้งสถาบันการระบำ หรืออะคาเดมี รัวยาล เดอ ลา ดองส์ (Academie Royale de la Danse ปัจจุบันคือ ปารีส โอเปรา บัลเลต์-Paris Opera Ballet) พร้อมๆ กันนั้น ท่าพื้นฐานของบัลเลต์คลาสสิก 5 ท่วงท่าก็ได้รับการบัญญัติขึ้น

    อง-บัปติสต์ ลุลยี นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนที่ทำงานรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศส มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาดนตรีสำหรับบัลเลต์ตลอดศตวรรษต่อมา เขาเป็นอีกคนที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยความที่เขาเป็นนักเต้นเองด้วย ทำให้มีความเข้าใจในท่วงท่า และแต่งเพลงสนับสนุนความเคลื่อนไหวของนักเต้นได้เป็นอย่างดี

    เขาทำงานร่วมกับอง-บัปติสต์ โปเกอแลง นักเขียนบทละครเจ้าของนามปากกา โมลิแยร์ ทั้งคู่นำเอาสไตล์การละครแบบอิตาลี ทั้งสุขและโศกนาฏกรรมมาผสมผสานกันกลายเป็นบัลเลต์สนุกๆ ให้คนฝรั่งเศสชม โดยมีบัลเลต์เรื่องดัง อย่าง Le Bourgeois Gentilhomme (1670) อง-บัปติสต์ ลุลยี ยังเป็นผู้กำกับคนแรกของโรงละครแห่งสถาบันรัวยาล เดอ มูซิก (Royale de Musique) ซึ่งนับเป็นสถาบันที่เป็นรากฐานของดนตรีบัลเลต์

    การเรียนการสอนบัลเลต์อย่างจริงๆ จังๆ ก็เริ่มต้นขึ้นที่ฝรั่งเศสนี่เอง นั่นทำให้ชื่อเรียกท่วงท่าต่างๆ ของบัลเลต์ส่วนใหญ่จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ว่านักเต้นจะเข้าใจภาษาฝรั่งเศสหรือไม่ แต่พวกเขาก็จะรู้กันหากเอ่ยคำนี้ขึ้นมาจะหมายความถึงอะไร ไม่ว่าจะเป็น ออง เดอดองส์ (En dedans) ปอร์กต์ เดอ บราส์ (Port de bras) โซต์ เดอ ชาต์ (Saut de chat) ตูร์ ซอง แลร์ (Tours en l’air) ตงเบ (Tombe) ฯลฯ


ศตวรรษ 18 เติมเต็มศิลปะ

ศตวรรษต่อมา นอกจากบัลเลต์ในฝรั่งเศสจะมีรากฐานที่เข้มแข็งแล้ว ยังเริ่มมีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติมเต็มความคิดทางศิลปะเข้าไป ด้วยการนำเรื่องราวแบบโอเปรามาถ่ายทอดด้วยการเต้นและการเคลื่อนไหวแบบบัลเลต์ โดยนอกจากนักแสดงจะต้องเต้นท่าบัลเลต์เก่งแล้ว ยังต้องสามารถถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของตัวละครตามบทบาทต่างๆ ได้อีกด้วย

การปฏิวัติวงการบัลเลต์ไปในรูปแบบดังกล่าว เห็นเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจนในศตวรรษต่อๆ มา การแสดงเป็นเรื่องราวมีตัวเอก ตัวรอง ทำให้มีการแจ้งเกิดนักแสดงบัลเลต์มากมาย โดยเฉพาะนักแสดงหญิงที่พัฒนาเทคนิคในการเต้นเฉพาะของตัวเองจนกลายเป็นดาวเด่น อย่าง แจนวิแยฟ กอสเซอแลง มารี ตาโกลนี และแฟนนี เอลสเลอร์ ที่ได้ช่วยกันพัฒนาเทคนิคการเต้นแบบพอยต์เท้า (อันเป็นที่มาของคำเรียก ระบำปลายเท้า”) ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของการเต้นบัลเลต์ในปัจจุบัน ทั้งยังมีการพัฒนารองเท้าบัลเลต์ชนิดที่มีส่วนหัวเป็นโฟม เพื่อความง่ายในการเต้นด้วยปลายเท้านั่นเอง

ด้วยความโดดเด่นของนักบัลเลต์หญิง ทำให้เรื่องราวที่นิยมในการนำมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงบัลเลต์ จึงเป็นเรื่องราวแนวโรแมนติก โดยเฉพาะเนื้อหาจากเทพนิยายต่างๆ ซึ่งส่งผลถึงการออกแบบท่าเต้นให้มีการหมุนตัว กระโดดสูง กระโดดแยกขา รวมทั้งการจัดวางท่วงท่าวงแขนและร่างกายให้ได้อารมณ์อันซาบซึ้ง เรื่อง La Sylphide นับเป็นโรแมนติกบัลเลต์เรื่องแรกๆ และยังได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้